8 กิจกรรมสนุกส่งเสริมการเรียนรู้ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การสอนภาษาให้สนุกกับเด็กเราต้องมีกิจกรรมพิสูจน์ความสามารถของเด็กด้วยและกิจกรรมนั้นไม่ควรยากเกินความสามารถของเด็ก และควรมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือเพื่อตองสนองความแตกต่างของเด็กๆ กิจกรรมมีทั้งหมด 8 กิจกรรม ดังนี้
1.เรื่องเล่าเช้านี้ ให้เด็กๆแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันของแต่ละคนให้ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนๆ การสนทนาที่สำคัญคุณครูต้องใช้ภาษาที่ถูกต้องกับเด็กและครูจะต้องสอนมารยาทในการฟังการพูดแก่เด็กด้วย
2.อยากจะอ่านดังๆ ครูควรเลือกหนังสือที่เด็กๆสนใจมาสัก 1 เล่ม และให้เด็กๆได้อ่านออกเสียงกันเป็นประจำเพราะช่วงเวลาของเด็กในตอนนี้เด็กจะมีความสุขและความรู้สึกดีต่อการอ่าน ครูควรแนะนำให้เด็กๆรู้จัก ชื่อผู้แต่ง ผู้แปล ผู้วาดภาพประกอบ ในการอ่านครูควรชี้นิ้วไปตามเรื่องที่อ่านด้วยหรือตั้งคำถามให้กับเด็กๆเพื่อให้เด็กๆได้ร่วมคาดเดากับเหตุการณ์ที่จะเกิดล่วงหน้า
3.หนูเล่าอีกครั้ง เมื่อนิทานเล่มสนุกของเด็กๆจบลง คุณครูควรลองให้เด็กๆนำนิทานกลับมาเล่าให้ครูและเพื่อนๆได้ฟังบ้างก่อนที่คุณครูจะให้เด็กเล่าควรใช้คำถามกระตุ้นเด็กๆควรจับใจความสำคัญ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเด็ก
4.อ่านด้วยกันนะ หนังสือภาพขนาดใหญ่หรือ Big book จะช่วยในเรื่องภาษาของเด็กๆ คุณครูชวนเด็กๆมาพูดคุยถึงเรื่องที่จะนำมาเล่าเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและให้เด็กมีพื้นฐานในการฟังแล้วจึงค่อยอ่านให้เด็กๆฟังและควรชี้นิ้วไปด้วยเพื่อให้เด็กๆได้คุ้นเคยกับตัวหนังสือ คำ ข้อความเมื่อเด็กๆเริ่มคุ้นเคยคุณครูก็ปิดข้อความ ปิดคำ แล้วให้เด็กๆได้ทายหรือทำบัตรคำเพื่อให้เด็กๆได้หาคำนี้จากหนังสือ
5.อ่านตามใจหนู นอกจากหนังสือนิทานภาพสวยๆแล้วยังมีสิ่งอื่นที่เด็กสามารถอ่านได้ เช่น ป้าย คำขวัญ กล่องคำ สิ่งต่างๆเหล่านี้เด็กก็สนใจอยากอ่านเหมือนกัน ครูควรทำการบันทึกการอ่านของเด็กโดยที่ให้เด็กๆเล่าเรื่องที่เด็กสนใจที่เด็กๆได้อ่านให้คุณครูฟัง
6.หนูอยากอ่านเอง สิ่งนี้จะทำให้เด็กๆที่ซนหยุดนิ่งได้เพราะจะให้เขาเลือกอ่านตามใจชอบจะหยิบอะไรมาจะอ่านอะไรก็ไม่มีใครว่าเมื่อเด็กๆอ่านจบแล้วควรให้เด็กๆได้ทำงานเพราะเพื่อที่เด็กจะได้เกิดความรู้สึกอยากที่จะอ่านเต็มที่
7.เขียนด้วยกันนะ คุณครูชวนเด็กๆมาเขียนด้วยการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิตประจำวันครูต้องเป็นผู้เริ่มเขียนให้เด็กๆบอกสิ่งที่ต้องการเขียนเป็นข้อความสั้นๆเด็ก ๆ จะเห็นวิธีการเปลี่ยนความคิดมาเป็นข้อความ เห็นลีลามือที่ถูกต้องสวยงาม และควรให้เด็ก ๆ บอกให้ครูเขียนเป็นระยะ กิจกรรมนี้จะทำให้เด็ก ๆ เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเขียน รู้จักตัดสินใจแสดงความคิดเป็นตัวอักษร
8.หนูอยากเขียนเอง เด็กๆจะได้ลงมือมือปฏิบัติเขียนเองจริงๆสักทีให้เด็กได้เขียนเพื่อสื่อความหมายตามความสนใจพวกเขาทำกิจกรรมและเขียนถ่ายทอดผลงานความคิดออกมา เช่น การบันทึกชื่อนิทาน
สิ่งที่ได้รับ
ได้รู้ถึงวิธีการสอนให้เด็กได้ฝึกใช้ภาษาอย่างถูกวิธีซึ่งมีขั้นตอนง่ายเพียง 8 ขั้นตอน เรื่องเล่าเช้านี้ อยากจะอ่านดังๆ หนูเล่าอีกครั้ง อ่านด้วยกันนะ อ่านตามใจหนู หนูอยากอ่านเอง เขียนด้วยกันนะ หนูอยากเขียนเอง
ของ นางสาวรินทราย ทำวัดไทร
พัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของภาษา
1. ภาษาเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อการติดต่อสัมพันธ์กับสังคมรอบๆ ตัว
2. ภาษาเป็นกิจกรรมสำคัญในการจัดการเรียนการสอนทั้งใน และนอกระบบโรงเรียน
3. ภาษาเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดด้วยตนเอง
4. ภาษาเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
5. การใช้ภาษาของมนุษย์เป็นเครื่องบ่งบอกถึงบุคลิกภาพของผู้พูด
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยในแต่ละขั้น
ขั้นที่ 1. ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน
ขั้นที่ 2. ขั้นเล่นเสียง
ขั้นที่ 3. ขั้นเลียนเสียง
ขั้นที่ 4. ขั้นเลียนเสียงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ขั้นที่ 5. ขั้นเห็นความหมายของเสียงที่เด็กเลียน
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยในเชิงพฤติกรรม 7 ระยะ
1. ระยะเปะปะ
2. ระยะแยกแยะ
3. ระยะเลียนแบบ
4. ระยะขยาย
5. ระยะโครงสร้าง
6. ระยะตอบสนอง
7. ระยะสร้างสรรค์
ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
1. เติบโตช้าผิดปกติ สมองช้า
2. มีอารมณ์ประเภทต่างๆ รุนแรงเกินสมควร
3. สมองคิดเร็วเกินกว่าที่จะพูดออกมาทัน
4. ถูกล้อเลียน ทำให้เสียความมั่นใจ ประหม่า ไม่แน่ใจ เคร่งเครียด
บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อพัฒนาการทางภาษา
บทบาทของผู้ปกครอง
- พ่อแม่ควรพูดให้ชัดเจน
- พ่อแม่ควรใช้ภาษาให้เหมาะสมกับวัยเด็ก
- พ่อแม่ควรแก้ไขข้อบกพร่องในการออกเสียงของเด็ก
บทบาทของครูปฐมวัย
- เจตคติของครู
- บุคลิกภาพ และพฤติกรรมของครู
- ความสามารถในการสอน และการใช้ภาษาของครู
กลยุทธ์ในการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา
1. ใส่ใจกับความสนใจของเด็ก
2. ตีความหมาย และขยายความจากสิ่งที่เด็กกล่าวมา
3. ช่วยเด็กคิดหาคำศัพท์
4. เชื่อมโยงไปยังสิ่งที่เด็กรู้จัก
5. อธิบายคำศัพท์ที่เด็กไม่รู้มาก่อน
6. ใช้ประโยชน์จากทักษะทางภาษาที่เด็กมีอยู่แล้ว
ค้นจาก http://202.183.233.76/online/education/media/ECED301/ECED301.pdf และ http://www.sprogpakken.dk/translated/materialer/th_sprogligestrategier_visueltekst.pdf
สิ่งที่ได้รับ
การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach )
การสอนภาษาแบบธรรมชาตินับว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก คือ ช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนภาษา และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในพัฒนาการทางด้านภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กเพิ่มขึ้น สรุปเป็นหลักการสำคัญของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ดังนี้
1. การจัดสภาพแวดล้อม การสอนภาษาต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่แบ่งเป็นทักษะย่อยๆ และจะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อม
1. การจัดสภาพแวดล้อม การสอนภาษาต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่แบ่งเป็นทักษะย่อยๆ และจะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการฝึกหัด และให้เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาสตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องกำหนดตายตัวว่าช่วงเวลาใดต้องอ่าน หรือช่วงเวลาใดต้องเขียน
3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษา ครูต้องอ่านและเขียนให้เด็กได้เห็น เป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เพื่อสร้างให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน
4. การตั้งความคาดหวัง การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับโอกาสที่จะอ่านและเขียนตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียน และครูไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่
5. การคาดคะเน การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมุติฐาน-เบื้องต้นของตน และมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน
6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ
4. การตั้งความคาดหวัง การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับโอกาสที่จะอ่านและเขียนตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียน และครูไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่
5. การคาดคะเน การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมุติฐาน-เบื้องต้นของตน และมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน
6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ
7. การยอมรับนับถือ การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ว่าเด็กเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ครูต้องศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ศึกษาความสนใจ ความสามารถ และสอนเด็กตามความสามารถที่แตกต่างกันของเด็ก
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน แม้ว่าไม่เคยอ่านหรือเขียนมาก่อน ครูต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ ไม่ถูกตราหน้าว่าไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน ดังนั้น การสอนภาษาจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและความสามารถของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถที่จะอ่านและเขียนได้
การสอนภาษาแบบธรรมชาติในโรงเรียนอนุบาล
การสอนภาษาแบบธรรมชาติในโรงเรียนอนุบาล
การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน
1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะจัดให้มีมุม-ประสบการณ์ต่างๆ โดยมุมทุกมุมสามารถจัดให้เอื้อต่อการเรียนภาษาได้โดยจัดให้มีป้ายสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆที่มีความหมายในการสื่อสารกับเด็ก มีวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถกระตุ้นให้เด็กต้องการที่จะเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
2. บรรยากาศภายในห้องเรียน ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะมีบรรยากาศของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เด็กมีโอกาสและเวลาที่จะตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และจะต้องเป็นห้องเรียนที่เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะจัดให้มีมุม-ประสบการณ์ต่างๆ โดยมุมทุกมุมสามารถจัดให้เอื้อต่อการเรียนภาษาได้โดยจัดให้มีป้ายสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆที่มีความหมายในการสื่อสารกับเด็ก มีวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถกระตุ้นให้เด็กต้องการที่จะเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
2. บรรยากาศภายในห้องเรียน ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะมีบรรยากาศของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เด็กมีโอกาสและเวลาที่จะตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และจะต้องเป็นห้องเรียนที่เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
บทบาทของครูที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ
1. ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ครูต้องเป็นผู้ที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสภาพ-แวดล้อม การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ หรือแหล่งข้อมูลสำหรับเด็ก และเป็นผู้ที่จัดให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่การให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรม ส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดเห็น ให้เด็กมีโอกาสอ่านและเขียน สนับสนุนให้เด็กกล้าที่จะอ่านและเขียนคำที่ไม่เคยพบมาก่อน ยอมรับและตอบสนองต่อความพยายามของเด็กในทางบวก ไม่ตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์เมื่อเด็กอ่านหรือเขียนยังไม่ถูก
2. ครูเป็นแบบอย่างของการเรียนรู้ ครูต้องเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาในลักษณะต่างๆ ทั้งในลักษณะของการสาธิตกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรู้หนังสือ เช่น การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน การชี้คำขณะที่อ่าน การถ่ายทอดความคิดโดยการเขียน เป็นต้น
3. ครูเป็นผู้จัดการให้เกิดการเรียนรู้ ครูต้องจัดการให้การเรียนรู้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ต้องให้เด็กได้เรียนรู้แบบร่วมมือ และต้องให้เด็กได้ทำงานร่วมกัน
4. ครูเป็นผู้ประเมินพัฒนาการ เพื่อดูความก้าวหน้า และสามารถส่งเสริมเด็กได้อย่างเหมาะสมต่อไป
2. ครูเป็นแบบอย่างของการเรียนรู้ ครูต้องเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาในลักษณะต่างๆ ทั้งในลักษณะของการสาธิตกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรู้หนังสือ เช่น การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน การชี้คำขณะที่อ่าน การถ่ายทอดความคิดโดยการเขียน เป็นต้น
3. ครูเป็นผู้จัดการให้เกิดการเรียนรู้ ครูต้องจัดการให้การเรียนรู้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ต้องให้เด็กได้เรียนรู้แบบร่วมมือ และต้องให้เด็กได้ทำงานร่วมกัน
4. ครูเป็นผู้ประเมินพัฒนาการ เพื่อดูความก้าวหน้า และสามารถส่งเสริมเด็กได้อย่างเหมาะสมต่อไป
บทบาทเด็กในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ
1. เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
2. เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ตั้งแต่การสร้างหัวข้อที่จะเรียนร่วมกัน การตัดสินใจเลือกทำกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการที่ใช้ในชีวิตจริงของเด็ก และ การประเมินผลงานของตัวเอง
3. เด็กเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและครู ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เด็ก
1. เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
2. เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ตั้งแต่การสร้างหัวข้อที่จะเรียนร่วมกัน การตัดสินใจเลือกทำกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการที่ใช้ในชีวิตจริงของเด็ก และ การประเมินผลงานของตัวเอง
3. เด็กเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและครู ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เด็ก
การประเมินพัฒนาการทางภาษาตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
1. การประเมินต้องเป็นไปตามธรรมชาติการรู้หนังสือของเด็ก ครูต้องศึกษาพัฒนาการด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนของเด็กแล้วนำหัวข้อเหล่านี้มาสร้างเป็นตัวบ่งชี้ในการประเมิน
1. การประเมินต้องเป็นไปตามธรรมชาติการรู้หนังสือของเด็ก ครูต้องศึกษาพัฒนาการด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนของเด็กแล้วนำหัวข้อเหล่านี้มาสร้างเป็นตัวบ่งชี้ในการประเมิน
2. การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน และต้องประเมินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ครูทราบพัฒนาการของเด็ก เข้าใจเด็ก และรู้ว่าจะพัฒนาเด็กอย่างไร
3. การประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ควรเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการ เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่แท้จริง ซึ่งจะต้องมีทั้งการสังเกต บันทึก และการเก็บตัวอย่างงาน โดยครูจะต้องแปลผลข้อมูลอย่างรอบคอบเพื่อให้ผลการประเมินมีความตรงและความเที่ยง
การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้ของเด็ก จึงจำเป็นต้องจัดให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ดังนี้
1. ผู้ปกครองควรศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร และการเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาล ซึ่งครูควรเป็นผู้ที่สื่อสารให้ผู้ปกครองรับทราบด้วยวิธีการต่างๆ ให้ผู้ปกครองสามารถพัฒนาเด็กในทิศทางเดียวกันกับทางโรงเรียน
ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้ของเด็ก จึงจำเป็นต้องจัดให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ดังนี้
1. ผู้ปกครองควรศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร และการเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาล ซึ่งครูควรเป็นผู้ที่สื่อสารให้ผู้ปกครองรับทราบด้วยวิธีการต่างๆ ให้ผู้ปกครองสามารถพัฒนาเด็กในทิศทางเดียวกันกับทางโรงเรียน
2. ผู้ปกครองอาจมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยการร่วมกิจกรรมของโรงเรียน เช่น เข้าร่วมประชุมกับทางโรงเรียน เยี่ยมชมชั้นเรียน สังเกตการสอน หรือให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการของโรงเรียน เช่น ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเด็ก
3. ผู้ปกครองสามารถช่วยพัฒนาภาษาของเด็กได้โดยการสนทนาและตอบคำถามของเด็กอย่างสม่ำเสมอ จัดหาหนังสือนิทานให้เด็ก อ่านหนังสือให้เด็กฟังเป็นประจำ จัดให้เด็กมีโอกาสอ่านและเขียน เป็นกำลังใจแก่เด็ก เพื่อให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านและการเขียน พยายามไม่วิพากษ์วิจารณ์หรือตำหนิสิ่งที่เด็กเขียน และผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา
สิ่งที่ได้รับ
ได้เรียนรู้ถึงวิธีการจัดห้องเรียนจัดการเรียนการสอนให้เป็นธรรมชาติเพื่อที่เด็กๆจะได้ความสนุกสนานในการเรียนภาษา และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในพัฒนาการทางด้านภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กเพิ่มขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น